วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

เรื่องเล่าขนมไทย


           
         คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า "ขนมไทย" เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ "ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ" ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ "น้ำกะทิ" โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม อย่างนี้ว่า "ประเพณี ถ้วย"



ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง




ตัวอย่างขนมไทย


ขนมชั้น

ขนมเบื้อง



              ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว้า สำรับกับข้าวคาวหวาน ซึ่งขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู้จักกันดี ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้นเป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรืองานตอนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เช่น ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีต วิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม


           

 การจัดวางขนมไทยอย่างปราณีต


              ขนมไทยมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการค้าขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินอยู่ร่วมกันไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยา  และสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวาง ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ ทำให้ขนมไทยในปัจจุบันมีทั้งขนมที่เป็นไทยแท้ๆและดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของต่างชาติ เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ เป็นต้น นอกจากนั้นไทยยังให้ความสำคัญกับขนมที่ทำจากไข่เหล่านี้โดยใช้เป็น ขนมมงคล” เพื่อนำไปประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขก ในพิธีมงคลต่างๆ เช่น  งานงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะหรือเสริมสิริมงคล ดังเช่น ขนมมงคล๙อย่าง” ซึ่งได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก เม็ดขนุน ขนมชั้น จ่ามงกุฎ ขนมถ้วยฟูและเสน่ห์จันทน์


Creative Commons License
ขนมไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.