สรุปจากหนังสือสามเล่ม

สรุปจากหนังสือสามเล่ม





              ขนมไทยมีเอกลักษณ์คือความสวยงาม แสดงถึงวัฒนธรรม ความพิถีพิถันในการกินตั้งแต่อดีต วิธีการทำที่ละเอียด ปราณีต ใช้เวลา ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ จึงต้องมีใจรัก มีความอดทน ขยัน รู้จักเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าประทับใจและกลายเป็นลูกค้าประจำ   ซึ่งในความนิยมในการบริโภคขนมไทยของคนไทย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่น้อยลงมาก ขนมโบราณหลายชนิดต้องสูญหายไปหรือหารับประทานยาก
       

               จากการสำรวจการบริโภคขนมไทยของคนไทย พบว่าการซื้อขนมไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ๑,๐๐๐ บาท ต่อปี  ซึ่งปัจจุบัน ในภาครัฐ จึงส่งเสริมให้มีการบริโภคขนมไทยและซื้อเป็นของฝากมากขึ้น และหวังพัฒนาธุรกิจขนมไทยสู่อุตสาหกรรมตลาดโลก ขนมไทยหลายชนิดมีศักยภาพส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นขนมแห้ง เช่น ข้าวตัง ทองม้วน ขนมเปี๊ยะ มะพร้าวแก้ว มะม่วงกวน เป็นต้น ส่วนขนมสด มีอายุการเก็บรักษาสั้น จึงค่อนข้างมีปัญหา เพราะขนมไทยเป็นอาหารที่มีความชื้นมาก ถึงแม้จะมีการพัฒนาเพื่อยืดอายุขนมไทยในขั้นตอนการผลิต และการบรรจุแล้วก็ตาม แต่รสชาติของขนมไม่อร่อยเท่ารับประทานขนมไทยสดๆ
           
       
               กลุ่มลูกค้าของธุรกิจขนมไทย หลักๆได้แก่ แม่บ้าน คนทำงาน ร้านอาหาร โรงแรม สายการบิน และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับล่าง ระดับกลาง ระดับสูง
           
                ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว้า สำรับกับข้าวคาวหวาน ซึ่งขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่รู่จักกันดี ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้นเป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรืองานตอนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เช่น ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีต วิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม

                 ขนมไทยมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยส่งเสริมการค้าขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินอยู่ร่วมกันไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยา  และสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวาง ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดการบริโภคนิสัยแบบไทยๆ ทำให้ขนมไทยในปัจจุบันมีทั้งขนมที่เป็นไทยแท้ๆและดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของต่างชาติ เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ เป็นต้น นอกจากนั้นไทยยังให้ความสำคัญกับขนมที่ทำจากไข่เหล่านี้โดยใช้เป็น ขนมมงคลเพื่อนำไปประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขก ในพิธีมงคลต่างๆ เช่น  งานงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะหรือเสริมสิริมงคล ดังเช่น ขนมมงคล๙อย่างซึ่งได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก เม็ดขนุน ขนมชั้น จ่ามงกุฎ ขนมถ้วยฟูและเสน่ห์จันทน์

           

อ้างอิง

มณี ทองคำ.  (2555).  ตำรับขนมไทยชาววัง.   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์สื่อสุขภาพ.
รัมภา ศิริวงศ์. (2552). ขนมไทย.  กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
ศรีสมร คงพันธุ์.  (2533). ขนมไทย(เล่ม 1).  กรุงเทพฯศูนย์การพิมพ์พลชัย.
ศรีสมร คงพันธุ์, มณี สุวรรณผ่อง และอัจฉรา ชินาลัย. (2534). ขนมไทย2. กรุงเทพฯศูนย์การพิมพ์พลชัย.
ขนมไทย. (2553). กรุงเทพฯสำนักพิมพ์แสงแดด. 
ส้นทางขนมไทย กำเนิดและวิวัฒนาการขนมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน. (2553). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แสงแดด.


Creative Commons License
ขนมไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น